บทนำ


บทนำ
ความเป็นมาของโครงการ (Project Background)
          วัด (Temple) หมายถึง  สถานที่ทางพระพุทธศาสนาซึ่งปกติมักประกอบด้วยพระอุโบสถ  พระวิหาร  พระเจดีย์  รวมทั้งมีพระภิกษุสงฆ์อยู่อาศัย[i]


[i] ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525 (กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2525), หน้า 747




วัด”  เป็นคำซึ่งเรียกชื่อศาสนสถานแบบคำไทยโดยที่มาของคำๆ นี้ยังไม่มีข้อยุติบ้างอธิบายว่ามาจากคำว่า
วตวา”  (ภาษาบาลี)  แปลว่าเป็นที่สนทนาธรรม [i]
วัตร”    หมายถึง  1. กิจปฏิบัติหรือหน้าที่ของพระภิกษุที่พึงกระทำ   2. การจำศีล
วัดวา”  หมายถึง  การกำหนดขอบเขตของดินแดนที่สร้างเป็นศาสนสถาน[ii]
แต่เดิมครั้งพุทธกาลมีการใช้คำว่า อารามสำหรับเรียกชื่อศาสนสถานในทางพุทธศาสนา  โดยใช้เรียกชื่อ
เสนาสนะที่มีผู้ศรัทธาถวายพระพุทธองค์ในระยะแรกๆ เช่น เชตวนาราม”  (ชื่อเต็ม เชตวเนอนาถบิณฑิกสสอาราเม”  แปลว่า  สวนของอนาถบิณฑิกะที่ป่าเชต )  หรือ  เวฬุวนาราม  หรือ  บุปพาราม”  เป็นต้น
          อาราเม”  หรือ  อาราม”  ในคำอ่านของไทย  แปลว่า สวน[iii]


[i] สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ พระยาอนุมานราชธน,บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ เล่ม 2 (กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช,2521), หน้า 73
[ii] สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ พระยาอนุมานราชธน,บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ เล่ม 4 (กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช,2521), หน้า 248
[iii] สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ,
สาส์นสมเด็จ เล่ม 14 (กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภา,2526 พิมพ์ครั้งที่ 2 ) หน้า 136.


ภาพที่ 1  เชตะวันมหาวิหาร


 “พุทธศาสนสถาน”  หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า วัดนั้นถือเป็นสถาบันที่สำคัญหน่วยหนึ่งของสังคมไทย  ที่ทำหน้าที่หล่อหลอมคนในชาติให้มีหลักและแบบแผนตลอดจนแนวทางในการดำเนินชีวิตให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลองครองธรรมภายใต้โลกธรรมและจิตวิญญาณแบบวิถีพุทธ  จนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข  ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าสำหรับชาวไทยพุทธแล้วไม่มีใครไม่เคยไปวัดมาก่อน  โดยภาพรวมแล้วส่วนใหญ่มักมีเป้าหมายหลักอยู่ที่ไปเพื่อทำบุญ  สร้างกุศล  สำหรับการสั่งสมมงคลชีวิตให้กับตนเองและบรรพบุรุษ  หรือมีบ้างที่ไปเพื่อหวังขัดเกลาความคิด  หรือชะล้างอกุศลคติ  หรือบ้างก็ต้องการเพียงความสงบทางด้านจิตใจ  เป็นต้น  ซึ่งวิถีดังกล่าวจะว่าไปแล้วล้วนแต่เป็นการเข้าถึง  วัด”  ในเชิงที่ยกระดับด้าน  ศีล”  เท่านั้น  แต่สำหรับในด้าน ปัญญา”  อันหมายถึงความรู้และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงที่มาที่ไปของบทบาทหน้าที่และความหมายขององค์ประกอบแต่ละส่วนแล้ว  ก็เชื่อได้อีกเช่นกันว่าน่าจะมีไม่มากนัก  เหตุนี้จึงไม่แปลกที่จะสัมผัสรู้ในการเข้าวัดจึงเป็นวิถีที่ถูกเน้นสาระไปเฉพาะทางด้านที่เป็น  พิธีกรรม”  เพียงอย่างเดียว  ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง  เพราะหากการเข้าไปนั้นถูกผนวกความพร้อมในด้านความรู้ความเข้าใจทั้งในเชิงเนื้อหาสาระของพื้นที่บวกกับพิธีกรรมด้วยแล้ว   ก็แน่นอนว่าความรู้สึกที่พึงจะเกิดขึ้นและรับรู้นั้น  ย่อมจักนำมาซึ้งความซาบซึ้ง  เบิกบาน  ประทับใจและเปี่ยมสุขได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์




เมื่อปีพุทธศักราช  2511  วัดสวนพิกุลได้ก่อตั้งขึ้นโดยพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาร่วมกันถางป่าพื้นที่ประมาณ 8 ไร่เพื่อเป็นสถานที่ก่อตั้งวัดสวนพิกุล  ที่บ้านสวนพิกุล  หมู่ที่  6  ตำบลดุสิต  อำเภอถ้ำพรรณรา  จังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยมีพ่อท่านสงค์ ได้เข้ามาทำการพัฒนาวัดสวนพิกุลแห่งนี้  โดยกรมการศาสนา  กระทรวงศึกษาธิการ  เป็นหน่วยงานของภาครัฐ  ควบคุม  ดูแลและให้การอุปถัมภ์  ปัจจุบันมีพระยม  จิตฺตสํวโร  เป็นรักษาการเจ้าอาวาส

          วัดสวนพิกุลเป็นโครงการประเภทศาสนสถานเพื่อเป็นสถาบันทางศาสนา  ประกอบกิจทางศาสนา  บำเพ็ญศาสนกิจของพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน  โดยโครงการวัดตัวอย่างเช่น  วัดประดิษฐาราม  จังหวัดนครศรีธรรมราช  วัดถ้ำทองพรรณรา  จังหวัดนครศรีธรรมราช  วัดเขาบันไดอิฐ  จังหวัดเพชรบุรี  วัดหน้าพระสุเมรุ  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ฯลฯ

ซึ่งโครงการประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.ส่วนพุทธาวาส
          เป็นพื้นที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
2.ส่วนสังฆาวาส
          ขอบเขตบริเวณพื้นที่ส่วนหนึ่งของวัดที่กำหนดไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์  เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับพิธีการใดทางศาสนาโดยตรง
๓.ส่วนธรณีสงฆ์
          เป็นพื้นที่สำหรับเอื้อประโยชน์ใช้สอยในเชิงสาธารณะประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ของวัด เช่น ใช้เป็นพื้นที่เปิดโล่งเพื่อสร้างความร่มรื่นให้วัด  หรือใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอื่นๆ เช่นสร้าง เมรุสำหรับฌาปนกิจศพของชุมชน  หรือก่อตั้งโรงเรียนเพื่อให้การศึกษาแก่สังคม


[i] ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525 (กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2525), หน้า 747
[ii] สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ พระยาอนุมานราชธน,บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ เล่ม 2 (กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช,2521), หน้า 73
[iii] สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ พระยาอนุมานราชธน,บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ เล่ม 4 (กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช,2521), หน้า 248
[iv] สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ,
สาส์นสมเด็จ เล่ม 14 (กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภา,2526 พิมพ์ครั้งที่ 2 ) หน้า 136.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น