บทที่ 4 รายละเอียดโครงการ



บทที่ 4
รายละเอียดโครงการ
4.1 รายละเอียดโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย
          เพื่อให้ผู้ใช้มีความสงบร่มเย็น  ดังนั้นพื้นที่ใช้สอยโครงการจะต้องเรียบง่ายที่สุด  และร่มเย็น  ต้นไม้ร่มเงา
การใช้ประโยชน์จากสิ่งที่อยู่ภายในพื้นที่โครงการโดยเฉพาะต้นไม้  เป็นการลดการทำลายสิ่งแวดล้อมและยังเป็นการได้ประโยชน์เรื่องความร่มรื่น  ร่มเงาเพื่อให้คนที่เข้ามาในโครงการได้สัมผัสถึงความเป็นธรรมชาติของพื้นที่และสงบเข้าสู่ธรรมะ
การใช้รั้วทึบในพื้นที่โครงการที่เรียกได้ว่าเป็นโครงการสาธารณะ  หรือเป็นโครงการสำหรับคนในชุมชนแล้ว  เป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง  แต่อาจจะนำไปใช้กับส่วนที่ยากต่อการควบคุม  เช่น  ส่วนที่ไม่ติดถนน  บริเวณที่ไม่มีคนอยู่  ไม่เกี่ยวข้องกับมุมมองจากภายนอก

ใช้เป็นรั้วธรรมชาติ  หรือขั้นแบ่งเขตด้วยคูน้ำและต้นไม้แทนรั้วสูงทึบ  จะได้มุมมองที่ดีกว่า  และสร้างความร่มรื่นน่าอยู่ให้กับผู้ใช้โครงการอีกด้วย


อาคารในโครงการ
1. ศาลาพระ   2.อุโบสถ   3.หอฉัน , โรงครัว   4.หมู่กุฏิสงฆ์   5.อาคารนอนแม่ชี                 6.ศาลาสวดศพ   7.เมรุ    8.ศาลาหน้าวัด   9.ลานจอดรถ

ความสัมพันธ์ของตัวอาคารในโครงการ
1.  ศาลาหน้าวัด (หมายเลข 8) มีหน้าที่เป็นอาคารต้อนรับ  สามารถนั่งพักผ่อนได้  ในอนาคตอาจจะเป็นสถานีรอรับ-ส่งผู้โดยสารรถประจำทางได้
2.  ศาลาพระ (หมายเลข 1) มีหน้าที่ประดิษฐานพระรูปปั้นพระพุทธรูป  พ่อท่านคล้าย และพ่อท่านนวล ซึ่งเป็นอาคารที่เป็นโครงการจริงของวัดสวนพิกุล  เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มาเคารพสักการะ  กราบไหว้บูชา  และอีกหน้าที่หนึ่งคือ  เป็นสถานที่เปรียบเสมือนเวทีสำหรับให้พระสงฆ์นั่งในการนำสวดมนต์ในวันสำคัญต่างๆ ของศาสนา  ซึงลานสระน้ำด้านหน้าเป็นลานสำหรับให้ประชาชนมานั่งสวดมนต์ด้วย
3.  อุโบสถ (หมายเลข 2 ) มีหน้าที่สำหรับเป็นสถานที่ให้พระสงฆ์ได้ทำวัตรเช้า-เย็น  ทำการบรรพชา อุปสมบทและเวียนเทียนรอบพื้นที่อุโบสถในวันสำคัญทางศาสนาอีกด้วย
4.  หอฉัน/โรงครัว (หมายเลข 3) มีหน้าที่เป็นสถานที่เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมาทำบุญและให้พระสงฆ์ได้ให้บุญ
5.  ศาลาสวดพระอภิธรรมและเมรุ (หมายเลข 6,7)  สำหรับพิธีในวาระสุดท้ายของชีวิต  เพื่อสวดส่งวิญญาณไปสู่สุคติภูมิ
6.  กุฏิและหอนอน (หมายเลข 4,5) เป็นสถานที่จำวัดและพักผ่อนของพระสงฆ์
7.  ลานจอดรถ (หมายเลข 9) มีหน้าที่หลักคือ จอดรถ หน้าที่รองคือ ลานบันเทิงวัฒนธรรม  หนังตะลุง มโนราห์ หรือกิจกรรมหมุนเวียนต่างๆ

การวิเคราะห์พื้นที่โครงการของวัดสวนพิกุลได้จากการคำนวณหาพื้นที่ใช้งานจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการของแต่ละส่วน  แล้วนำมารวมกับพื้นที่สัญจร ซึ่งพื้นที่สัญจรแต่ละส่วนก็แบ่งเปอร์เซ็นต่าง ๆ กันไปดังนี้





รายละเอียดการคำนวณพื้นที่ใช้สอยในแต่ละส่วนเป็นดังนี้
1.        ส่วนพุทธาวาส



2.        ส่วนสังฆาวาส





3.        ส่วนฆราวาส


4.2 รายละเอียดโครงการด้านรูปแบบ
          เน้นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย  ตอบสนองกิจกรรมของผู้ใช้โครงการ

แนวทางในการออกแบบที่เกี่ยวกับจินตภาพของโครงการ
1.  เป็นอาคารสูง 1-2 ชั้นลักษณะเป็นอาคารเดี่ยว  สื่อถึงอาคารประเภทศาสนสถาน
2.  รูปแบบและไสตล์เป็นแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประยุกต์ให้เข้ากับปัจจุบันทั้งในเรื่องวัสดุและรูปแบบ
3.  ลักษณะของคุณภาพที่ว่างตอบสนองกับการใช้งานภายในโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก  อาศัยแสงธรรมชาติเป็นหลัก
4.  จัดลำดับการเข้าถึงที่ว่างให้เกิดความเชื่อมต่อลื่นไหล เข้าหากันได้สะดวก



4.3 รายละเอียดโครงการด้านเศรษฐศาสตร์
          เนื่องจากรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบเรียบง่าย  วัสดุที่นำมาใช้ก็สามารถหาได้จากชุมชน  ดังนั้นการลงทุนในด้านการก่อสร้างสามารถหาได้จากคนในชุมชนที่มีจิตศรัทธา  ไม่ว่าจะเป็น  ต้นไม้  วัสดุการก่อสร้างต่างๆ  และแรงงาน

4.4 รายละเอียดโครงการด้านเทคโนโลยี
ระบบเตาเผาศพที่เลือกใช้คือระบบการให้ความร้อน แบบ
ชนิดใช้ไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิง ( Heater )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น